ข่าวสาร-กิจกรรม

VDO ด้านล่างเป็นการสมมติฐานหรือจำลองสภาพภูมิอาการแบบปิด โดยมีเครื่องจำลองฝุ่นควันเเละบำบัดด้วยระบบ Active Pure (RCI) ทำให้ฝุ่นตกเร็วขึ้น 250 เท่าจากความเร็วเเรงโนมถ่วงโลกปกติ (มีลิขสิทธิใบรับรองสามารถพิสูจน์ได้)

เนื่องจากช่วงนี้ปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศที่ประเทศไทย (PM2.5) มีอาการย่ำเเย่ลงไปมากทางเราจึงมีวิธีการแก้ปัญหามานำเสนอโดยใช้ Tachnology Active Pure ในการกำจัดฝุ่น เชื้อโรค เชื้อรา                                                                                                                                                                               

 

  

     

เทคโนโลยี ActivePure (RCI) สุดยอดเทคโนโลยี RCI ฟื้นฟูสภาพอากาศใน PENTAGON (กระทรวงกลาโหมสหรัฐ) ในวิกฤติการณ์ 9/11   

  

                  หากคุณยังจำวิกฤติการณ์ 9/11 ที่มีผู้ก่อการร้ายโจมตีตึกแฝด Worldtrade Center, USA ได้นั้น ในขณะนั้นเมื่อทางศูนย์เศรษฐกิจเกิดความเสียหายแล้ว ต่อมาโจมตีระดับความมั่นคงของสหรัฐฯ นั่นก็คือ ตึกอาคารหกเหลี่ยม หรือ Pentagon (เพนตากอน) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ วิกฤตการณ์ในครั้งนั้น ส่งผลให้เกิดมวลควันมหึมา อีกทั้งยังมีแก๊สพิษต่างๆ พร้อมกันนั้น ยังมีการถล่มของตึกซึ่งโดนกระแทกจากการชนของเครื่องบิน ทำให้มีเศษ อิฐ หิน ปูน ทราย ฟุ้งกระจายอย่างหนาแน่นมาก ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ในตึกนั้นไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามเดิมในตึกข้างคียงหรือแม้แต่เจ้าหน้าที่เองก็ไม่สามารถเข้าเคลียร์สถานการณ์การได้ เนื่องจาก มีกลุ่มละอองพิษกระจายตัวอย่างหนาแน่น ทางกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯจึงได้ส่งหนังสือขอความช่วยเหลือไปยังองค์การนาซ่า เพราะรู้ดีว่าองค์การนาซ่า มีวิธีในการกำจัดกลุ่มก๊าซพิษและเขม่าควันต่างๆได้ดีเยี่ยม  

เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรนั้น จึงได้ส่งหนังสือขอความช่วยเหลือไป แต่ทางองค์การนาซ่านั้นแม้จะเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้จาก Space Program แต่มิได้เป็นผู้ผลิต จึงส่งมาทางบริษัทของเรา จึงได้รับลิขสิทธิ์นี้แต่เพียงผู้เดียว ให้ จัดส่งเทคโนโลยี RCI นี้ไปช่วยตามคำร้องขอจากกระทรวงสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากการประเมินสถานที่เกิดเหตุนั้น ได้ส่งเครื่องฟอกอากาศ Activtek AP3000 ไปเพียง 30 เครื่องเท่านั้น ก็สามารถครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากเปิดใช้เครื่อง Activtek AP3000 ไปนั้น ภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น ก็สามารถกำจัดกลุ่มควัน สารเคมี
แก๊สพิษและฝุ่นละอองต่างๆที่ปกคลุมอย่างหนาแน่น ให้เกิดอากาศที่สะอาดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อสภาวะอากาศภายในตึก Pentagon คลี่คลายลง กลับสู่สภาวะปกติ
 
ทางกระทรวงรู้สึกประทับใจมาก และด้วยผลที่เหนือความคาดหมาย จึงได้ส่งจดหมายขอบคุณมายังบริษัทของเราพร้อมทั้งมอบเหรียญเชิดชูเกียรติให้แก่บริษัทของเราอีกด้วย

ขนาดของ PM 2.5 เทียบง่ายๆ กับเส้นผมและสามารถตรวจค่าฝุ่นได้ตามนี้เลยค่ะ

1. PM 2.5 คืออะไร

• ฝุ่นละอองขนาดเล็กมากๆ ขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นฝ่าศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์
• ขนจมูกของมนุษย์ไม่สามารถกรอง PM 2.5 ได้ มันจึงสามารถแพร่กระจายสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังหลายชนิด

PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบอย่างง่ายว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ ฝุ่นพิษจึงสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะได้ PM 2.5 มีลักษณะที่ขรุขระคล้ายสำลี เป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็ง

2. PM 2.5 อันตรายแค่ไหน

• PM2.5 จะสามารถลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานและปะปนกับมลพิษอื่นในอากาศ แพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอด และผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ

• เป็นสารก่อมะเร็ง และโรคอื่นๆ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งปอด และโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง ทำให้คนไทยตายก่อนวัยอันควรประมาณ 50,000 รายต่อปี

ด้วยองค์ประกอบของสารพิษเหล่านี้ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ PM 2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2556 อีกทั้งยังเป็นสาเหตุให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลก เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

3. PM 2.5 มาจากไหน

• แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า การผลิตของภาคอุตสาหกรรม กิจกรรมจากแหล่งที่อยู่อาศัยและธุรกิจการค้า
• การรวมตัวของก๊าซและมลพิษอื่นๆ ในบรรยากาศ
• สภาพอากาศนิ่ง และอุณภูมิต่ำฝุ่นละอองขนาดเล็กจากท่อไอเสียรถยนต์ลอยขึ้นไปไม่ได้

การเผาในที่โล่ง ปล่อย PM2.5 มากที่สุดถึง 209,937 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาในพื้นที่เพาะ ปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตอาหารในภาคเหนือตอนบนของไทย และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมไปถึงหมอกควันพิษข้ามพรมแดน
การคมนาคมขนส่ง ปล่อย PM2.5 ราว 50,240 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ทั้งดีเซลและแก๊สโซฮอล์เป็นหลัก
การผลิตไฟฟ้า ปล่อย PM2.5 ราว 31,793 ตันต่อปี

อุตสาหกรรมการผลิต ปล่อย PM2.5 ราว 65,140 ตันต่อปี โดยพบมากที่สุดในพื้นท่ีเขตควบคุมมลพิษ มาบตาพุด จังหวัดระยอง
การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และออกไซด์ของไนโตรเจน รวมทั้งมีสารปรอท , แคดเมียม , อาร์เซนิก หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์

4. ป้องกัน PM 2.5 ได้อย่างไร
• งดออกกำลังกายกลางแจ้ง
• ผู้มีโรคประจำตัวให้ปรึกษาแพทย์และหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง
• หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านให้ใช้หน้ากากป้องกันฝุ่น

กรมควบคุมโรคยืนยันว่าคนทั่วไปจะมีผลกระทบต่อสุขภาพต่อเมื่อต้องสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 นานเกิน 8 ชั่วโมงขึ้นไป

5. เลือกใช้หน้ากากป้องกัน PM 2.5 อย่างไร
• หน้ากาก N 95 ป้องกันฝุ่นขนาด 0.3 ไมครอนได้อย่างนน้อย 95% จึงป้องกัน PM 2.5 ได้ เหมาะกับผู้ที่ต้องทำงานในพื้นที่เสี่ยงเป็นเวลานาน
• หน้ากากอนามัยทั่วไป สามารถใช้ทดแทนได้ถ้าไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเป็นเวลานาน

ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์เปิดเผยว่า การใส่หน้ากาก N95 เพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว และใส่ถูกวิธีป้องกันได้แน่นอน แต่ถ้าใส่ไม่ถูกวิธีหรือมีลมออกข้างๆ ก็คง ไม่ช่วยอะไร คนป่วย คนที่ไม่แข็งแรง ถ้าต้องใส่ N95 จะอึดอัดเพราะหายใจไม่สะดวก

สำนักอนามัย กทม. ชี้แจงว่าการใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาที่มีเยื่อบุพิเศษ 3 ชั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ สามารถป้องกัน PM 2.5 ได้ แต่เนื่องจากเราไม่ได้อยู่ในบริเวณนั้นตลอดเวลา ถ้าแค่ผ่านไปเล็กน้อย ก็ยังสามารถป้องกันได้

 

ภาพกิจกรรมการออกบูธ กับงาน INTERCARE ASIA 2018

 ภาพกิจกรรมการออกบูธ กับงาน Engineering Expo 2018